การออกกำลังกายสำหรับโรคอัมพาตใบหน้า (Bell's Palsy)



ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรคแต่สันนิษฐานว่าเกิดจาการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะเชื้อเริม ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ที่เรียกว่า เส้นประสาทใบหน้า (facial nerve) ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าทำให้ไม่ทำงานชั่วคราว ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกด้านนั้นเป็นอัมพาต และมักจะมีอาการแบบปัจจุบันทันด่วน  เช่น เมื่อตื่นนอนตอนเช้าก็พบว่าปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท แต่แขนขาทั้งสองข้างยังคงแข็งแรงเป็นปกติ รวมไปถึง เมื่อตื่นมารู้สึกหน้าหนักๆ หลับตาไม่สนิท ตาแห้ง ทานน้ำมีน้ำไหลจากมุมปาก บางรายมีลิ้นชาหรือหูอื้อๆ ร่วมด้วย
โดยทั่วไปอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงในแต่ละรายจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือการบวมอักเสบของเส้นประสาทที่ต่างกัน ในบางรายที่มีอาการน้อย อาจไม่ต้องทำอะไรก็หายได้เองใน 2-3 สัปดาห์ สามารถแยกจากโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพฤกษ์ อัมพาต โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการทางระบบประสาทอื่นร่วมด้วย ได้แก่ แขนขาอ่อนแรงข้างเดียวกับที่มีปากเบี้ยว มองเห็นภาพซ้อน เดินเซหรือมีอาการบ้านหมุน พูดไม่ชัด เป็นต้น

                                                                      สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคอัมพาตใบหน้า


            ปัจจุบันยังไม่ทราบว่า โรคอัมพาตใบหน้าเกิดจากสาเหตุใด แต่จากการศึกษาต่างๆพบว่าอาจมีสาเหตุได้จาก
                1. ประสาทใบหน้าติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริม หรือจากไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส โดยมักก่ออาการเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต้านทานต่ำ สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่แพทย์เชื่อกันมากที่สุด           2. เป็นผลข้างเคียงของโรคบางโรค ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งพบโรคจากสาเหตุเหล่านี้ได้น้อย
                3. จากร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานจากการติดเชื้อไวรัสต่างๆ และภูมิต้านทานนี้ ส่งผลให้เกิดการการอักเสบบวมของประสาทใบหน้า

                ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาตเบลล์ ได้แก่
                1. คนท้อง โดยเฉพาะเมื่อมีครรภ์เป็นพิษ หรือเกิดโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
                2. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
                3.มีภาวะโรคเบาหวาน
                4. พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอ ภาวะเครียด ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดภาวะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำลง


การรักษาและหลีกเลี่ยงของโรคอัมพาตใบหน้า

1.การรักษาทางการแพทย์

                1.1 การใช้ยา ปัจจุบันพบว่าการใช้ยากลุ่มสเตรียรอยด์ (steroid) ติดต่อกัน 7-10 วัน ช่วยลดการบวมและอักเสบของเส้นประสาททำให้หายเร็วขึ้น ซึ่งหากได้รับการรักษาภายใน 1 สัปดาห์แรกหลังเกิดอาการ มักจะได้รับผลการรักษาที่ค่อนข้างดี แพทย์อาจพิจาณาให้ยาต้านไวรัสร่วมด้วยในบางราย เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถหลับตาได้สนิทหรือเป็นแผลได้ง่าย การรักษาจึงรวมไปถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวด้วยการปิดตาหรือหยอดน้ำตาเทียม
                1.2 การรักษาโดยการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะเข้ามามีบทบาทในเฉพาะกรณีที่มีอาการของโรครุนแรงและไม่หาย คือผู้ป่วยยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่นานเกิน 9 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะในรายที่เป็นผลมาจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ถูกทำลายหรือฝ่อลีบ เช่น ผ่าตัดแก้ไขหนังตาที่ปิดไม่สนิท การต่อและเลี้ยงเส้นประสาทสมองคู่อื่นเพื่อนำมาใช้ทดแทนเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7

 2. การรักษาทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การออกกำลังการยกล้ามเนื้อใบหน้า (facial exercise) เช่น ปิดตาแน่น ทำปากจู๋ ยักคิ้ว แก้มป่อง ยิงฟัน หรือนวดหน้า เพื่อบริหารกล้ามเนื้อไม่ให้ฝ่อลีบ รวมไปถึงใช้การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อใบหน้าที่เป็นอัมพาตไม่ให้ลีบเล็กลง การใช้ความร้อนประคบบริเวณใบหน้าที่มีอาการอ่อนแรงเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต รวมทั้งการรักษาโดยใช้การออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อในขณะที่รอการฟื้นตัวของเส้นประสาทในอนาคต การรักษาด้วยการออกกำลังกายดังกล่าวถือเป็นวิธีการที่ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงและเป็นการรักษาที่ผู้ป่วยสามารถช่วยทำได้บ่อย ๆ วันละหลายๆครั้ง



ท่าบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า


ท่าที่ 1 ให้ยักคิ้วขึ้นทั้งสองข้างโดยจะทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ วันละ 3 ช่วงเวลา




ท่าที่ 2 ให้ขมวดคิ้วเข้าหากันทั้งสองข้างโดยจะทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ วันละ 3 ช่วงเวลา


ท่าที่ 3 ให้ย่นจมูกเข้าหาหน้าผากโดยจะทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ วันละ 3 ช่วงเวลา



ท่าที่ 4 ให้ฝึกหลับตาแน่นๆ (หลับตาปี๋)โดยจะทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ วันละ 3 ช่วงเวลา



ท่าที่ 5 ให้ฝึกทำจมูกบานโดยจะทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ วันละ 3 ช่วงเวลา



ท่าที่ 6 ให้ฝึกยิ้มโดยไม่ยกมุมปาก (แสยะยิ้ม)โดยจะทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ วันละ 3 ช่วงเวลา



ท่าที่ 7 ให้ฝึกยิ้มยกมุมปากขึ้นโดยจะทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ วันละ 3 ช่วงเวลา

ท่าที่ 7 ให้ฝึกทำปากจู๋โดยจะทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ วันละ 3 ช่วงเวลา


Comments

Popular posts from this blog

โรคหลอดเลือดสมอง(STROKE) รู้ก่อนคือรอดดด!!

เบาหวาน..ก็ออกกำลังกายได้