เบาหวาน..ก็ออกกำลังกายได้
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ
เป็นภาวะที่พบว่าผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ
หากไม่ได้รับการควบคุมการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี
ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน
จะนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกายได้ เช่น โรคแทรกซ้อนทางด้านตา
โรคทางระบบเส้นเลือดและหัวใจ โรคทางระบบประสาท โรคแทรกซ้อนทางไต เป็นต้น(1)
ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี
การออกกำลังกายเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์รับรองว่ามีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะการออกกำลังกายช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นไปตามเป้าหมายการรักษาได้
ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อระดับน้ำตาลลดลงก็จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน(5)
- ลดภาวะดื้ออินซูลิน
ทำให้ความไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้นและออกฤทธิ์ได้นานขึ้น(5)
- ควบควบคุมน้ำหนัก
- ลดระดับไขมันในเลือด
- ลดระดับความดันโลหิต
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
- เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนต่าง
ๆ ของการร่างกาย(5)
- ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว เพิ่มการสร้างสังคม
เพิ่มความมั่นใจและความภาคภูมิใจ
- ลดความเครียดจากการหลั่งของฮอร์โมน endorphin และ serotonin ในสมอง
- ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา
เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงผู้ป่วยจะใช้ยาน้อยลง
ประเภทของการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานพบว่ามีประโยชน์เนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนต่าง
ๆ ของร่างกายรวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจจะทำงาน
โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (เช่น กล้ามเนื้อขา, สะโพก, ต้นแขน เป็นต้น)จะยิ่งเพิ่มการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายได้ดียิ่งขึ้น
ประเภทของการออกกำลังกายที่แนะนำมี 3 ประเภท ดังนี้
1.การออกกำลังกายแบบแอโรบิค
การออกกำลังกายประเภทนี้
ได้แก่ การเดิน, การวิ่ง, การเต้นแอโรบิค, การปั่นจักรยาน เป็นต้น
ในผู้ป่วยเบาหวานมีคำแนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิค 150 นาทีต่อสัปดาห์(1, 3)สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มต้นออกกำลังกายสามารถเริ่มจาก 10 นาทีต่อรอบ 3
รอบต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
หากผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นอาจเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายเป็น 30
นาทีต่อรอบ 1 รอบต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ โดยให้ออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลาง
คือยังสามารถพูดคุยเป็นประโยคได้
2. การออกกำลังกายโดยใช้แรงต้าน
การออกกำลังกายแบบแรงต้านคือการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง
ๆ ของร่างกายเช่น ต้นแขน ต้นขา หัวไหล่ หน้าท้อง หน้าอก
ทำการเกร็งโดยใช้น้ำหนักและแรงโน้มถ่วงของตัวเอง
ท่าที่ 1 นั่งบนเก้าอี้ให้เข่าอยู่ในท่างอ 90 องศา
จากนั่งออกแรงเตะเข่าขึ้นให้ขาเหยียดตรงเท่าที่ทำได้ ทำ 8-10 ครั้ง 3 รอบต่อวัน
ทำทั้งสองข้าง 2-3 วันต่อสัปดาห์
ท่าที่ 2 นั่งบนเก้าอี้ให้เข่าอยู่ในท่างอ 90°
จากนั้นออกแรงงอสะโพกขึ้นสูงเท่าที่สามารถทำได้
โดยขณะงอสะโพกควรรักษาให้หลังตรงอยู่ตลอดทำ 8-10 ครั้ง 3 รอบต่อวัน ทำทั้งสองข้าง
2-3 วันต่อสัปดาห์
ท่าที่ 3 นั่งตัวตรงถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำงอศอก 90° ออกแรงงอศอกขึ้นตามรูปทำ 8-10 ครั้ง 3 รอบต่อวัน2-3 วันต่อสัปดาห์
ท่าที่ 3 นั่งตัวตรงถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำงอศอก 90° ออกแรงงอศอกขึ้นตามรูปทำ 8-10 ครั้ง 3 รอบต่อวัน2-3 วันต่อสัปดาห์
ท่าที่ 4 ยืนตัวตรงแขนแนบลำตัวพร้อมกับถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำ
จากนั้นออกแรงกางแขนโดยเหยียดศอกตรงทั้งสองพร้อมกัน ทำ 8-10 ครั้ง 3 รอบต่อวัน2-3 วันต่อสัปดาห์
3. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
ท่าที่ 1 ยืนดังรูป นำขาข้างที่ต้องการยืดไว้ด้านหลังออกแรงดันกำแพงด้วยมือทั้งสองข้างจนรู้สึกตึงน่อง
ยืดค้างไว้ 10-30 วินาที 2-4 ครั้ง
ท่าที่ 2 ยืนตัวตรงดังรูป ใช้มือพับเข่าข้างที่ต้องการยืด
ให้รู้สึกตึงต้นขาด้านหน้า อีกมือหนึ่งจับเก้าเพื่อความมั่นคงยืดค้างไว้ 10-30
วินาที 2-4 ครั้ง
ท่าที่ 4 ยืนตัวตรง เหยียดแขนสองข้างไปทางด้านหลังและประสานมือทั้งสองข้างดังรูป
ให้รู้สึกตึงบริเวณหน้าไหล่ทั้งสองข้างยืดค้างไว้ 10-30 วินาที 2-4 ครั้ง
ข้อควรระวังขณะออกกำลังกาย
-ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
สาเหตุที่เกิดภาวะน้ำตาลตกขณะออกกำลังกายมักเกิดจาก
การใช้ยาที่มากเกินขนาด, ออกกำลังกายในช่วงที่ยาทำงานมากที่สุด,
การฉีดยาเข้าบริเวณกล้ามเนื้อ
(ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1), รับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอก่อนออกกำลังกายอาการของภาวะนี้คือ
ใจสั่น มือสั่น อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก วิตกกังวล สับสน มึนงง อยากอาหาร
หากน้ำตาลต่ำมาก อาจเป็นลมหมดสติได้
-ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
มักพบในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า
300 มก./ดล, โดยปกติแล้วร่างกายจะขับน้ำตาลในเลือดออกทางปัสสาวะหากน้ำตาลสูงจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
เมื่อร่วมกับการออกกำลังกายที่มีการสูญเสียเหงื่ออาจทำให้เกิดภาวะนี้ได้
อาการของภาวะขาดน้ำ คือ กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ตาแห้ง ผิวแห้ง ปากแห้ง เป็นต้น
หากมีอาการดังกล่าวควรหยุดออกกำลังกายและดื่มน้ำทดแทนทันที เราสามารถป้องกันภาวะขาดน้ำได้โดยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมและดื่มน้ำให้เพียงพอ
คำแนะนำเพิ่มเติม
ควรเลือกสถานที่ออกกำลังกายที่เหมาะสม
อากาศปลอดโปร่ง ไม่อับชื้น ไม่มีแดดจ้า หรือร้อนเกินไป
เพราะอากาศที่ร้อนจะทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลตก (Hypoglycemia)
ได้
ควรเลือกรูปแบบการรออกกำลังกายให้เหมาะสม
เช่น
หากมีอาการปวดเข่าไม่ควรเลือกการออกกำลังกายที่มีการกระโดดหรือการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่ามากนัก
อาจต้องเปลี่ยนเป็นการเดินหรือวิ่งในน้ำ เป็นต้น
ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผล
ควรใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่เหมาะสมในกันออกกำลังกาย
เนื่องจากหากผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้แผลหายช้าได้
Comments
Post a Comment