การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด ( Scoliosis )


กระดูกสันหลังคด



กระดูกสันหลังคด คือการคดงอของกระดูกสันหลัง โดยจะมีลักษณะบิดเบี้ยวไปด้านซ้ายหรือขวาอย่างผิดปกติ จึงทำให้ร่างกายเสียสมดุลโดยทำให้สัดส่วนสะโพก เอว และไหล่ไม่เท่ากัน กระดูกสันหลังคด สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 10-15 ปี หากอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาได้โดยวิธีทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการออกกำลังกาย แต่ถ้าหากอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดจากแพทย์




สาเหตุของกระดูกสันหลังคด


สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามช่วงอายุที่มีอาการเกิดขึ้น
1. โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยทารก โดยเด็กที่เกิดอาการโรคกระดูกสันหลังคดก่อนอายุ 3 ขวบ
2. โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก โดยเด็กจะมีการพัฒนาอาการของโรคเมื่อมีอายุระหว่าง 4 – 10 ขวบ 3. โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น ในช่วงเด็กกำลังเติบโตเป็นวัยรุ่นหรือมีอายุระหว่าง 10 – 18 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบโรคกระดูกสันหลังคดได้มากที่สุด
                นอกจากนี้โรคกระดูกสันหลังคดยังอาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital scoliosis) โดยอาจเกิดได้จากความบกพร่องในการสร้างของกระดูกสันหลัง
2. กระดูกสันหลังคดจากท่าทางที่ผิด (Functional scoliosis) อาจเกิดจากความผิดปกติตรงส่วนอื่นของร่างกาย เช่น การบาดเจ็บ ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน กล้ามเนื้อหดเกร็ง การทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายไม่สมดุลซ้ำกันเป็นเวลาหลายปี
3. กระดูกสันหลังคดจากโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular scoliosis) พบในเด็กที่มีความผิดปกติของไขสันหลัง สมองและระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทไม่สามารถรักษาสมดุลของลำตัวและกระดูกสันหลังได้ โรคกระดูกสันหลังคดชนิดนี้มักรุนแรงมากขึ้นเมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่
4. กระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative lumbar scoliosis) เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังจากโรคข้ออักเสบหรือโรคกระดูกพรุน

การป้องและหลีกเลี่ยงภาวะกระดูกสันหลังคด

1. แม้ท่าทางในการนั่งหรือยืนจะไม่ส่งผลให้กระดูกสันหลังคด แต่อาจทำให้กระดูกเอนตัว หรือมีอาการตัวเอียงคล้ายกับการยืนพิงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวท่านต้องคอยสังเกตรวมถึงการแก้ไขและปรับปรุงลักษณะพฤติกรรมดังกล่าว
2. ในผู้ป่วยเด็กที่มีประวัติกระดูกสันหลังคดหรือคนในครอบครัวมีประวัติกระดูกสันหลังคดควรพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอาจมีอาการกระดูกสันหลังคดที่รุนแรงมากขึ้นต่อเนื่องไป จนถึงวัยผู้ใหญ่
3. การออกกำลังกายบางประเภทอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงได้หากไม่ได้อยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ เช่น โยคะ พีลาทิส รวมไปถึงกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวหรือส่งผลต่อการบิดแนวกระดูกสันหลัง เช่น การสะพายกระเป๋าเป้เพียงข้างเดียว การนั่งเอียงตัว ห่อไหล่ การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งจะส่งผลมาจากลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน
4. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น รวมไปถึงเข้าปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดและความรู้เบื้องต้นที่ควรรู้เพื่อป้องกันความเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อน


ท่าบริหารสำหรับผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด


ท่าที่ 1 ใช้การยก แขนและขาที่อยู่ตรงกันข้าม เช่น แขนซ้าย:ขาขวา โดยจะยกให้อยู่ในระดับสายตา
โดยจะทรงท่าค้างไว้ 10 วินาที เซตละ 15 ครั้ง วันละ 3 รอบ



ท่าที่ 2 โดยอยู่ในท่านอนคว่ำ โดยก้มหน้าลง ลำตัวและขาเหยียดตรง และยกแขนขึ้นประมาณ 35-45 องศาดังรูป โดยจะทรงท่าค้างไว้ 10 วินาที เซตละ 15 ครั้ง วันละ 3 รอบ



ท่าที่ 3 โดยจะทำในลักษณะที่คล้ายกับท่าที่ 2 แต่มีการพับแขนเข้าหาลำตัวและจะหันหน้าไปทางด้านแขนข้างที่พับงอเข่าขึ้นประมาณ 90 องศา โดยจะทรงท่าค้างไว้ 10 วินาที เซตละ 15 ครั้ง วันละ 3 รอบ



ท่าที่ 4 โดยอยู่ในท่านอนคว่ำ โดยก้มหน้าลง ลำตัวและขาเหยียดตรง และทำการเอียงในส่วนของลำตัวดังรูปโดยจะทรงท่าค้างไว้ 10 วินาที เซตละ 15 ครั้ง วันละ 3 รอบ




ท่าที่ 5 โดยอยู่ในท่านอนคว่ำ โดยก้มหน้าลง ลำตัวและขาเหยียดตรง ทำการเหยียดส่วนของลำตัวขึ้นดังรูปโดยจะทรงท่าค้างไว้ 10 วินาที เซตละ 15 ครั้ง วันละ 3 รอบ




Comments

Popular posts from this blog

โรคหลอดเลือดสมอง(STROKE) รู้ก่อนคือรอดดด!!

การออกกำลังกายสำหรับโรคอัมพาตใบหน้า (Bell's Palsy)

เบาหวาน..ก็ออกกำลังกายได้